ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
Podothrips lucasseni (Kruger)
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Podothrips lucasseni (Kruger)
บทบาทในธรรมชาติ
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ข้อมูลทางชีววิทยาที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
Podothrips lucasseni (Krüger) ตามที่ได้รายงานไว้โดย Mound & Marullo (1998) และ Mound & Reynaud (2005) โดยพบว่าสองชนิดแรกเป็นตัวห้ำทำลายเพลี้ยไฟศัตรูพืชชนิด่างๆ ในส่วนดอกของต้นฝนแสนห่า Argyreia capitiformis (Convolvulaceae) และ ดอกของย่านขน Lepistemon binectariferum (Convolvulaceae) ส่วนชนิดที่สาม คือ P. lucasseni พบว่าลงทำลาย ไรทำปมกระท้อน (santol gall mite) Eriophyes sandorici (Acari: Eriophyidae) ซึ่งพบทำลายใบของกระท้อน Sandoricum koetjape (Myrtaceae) และ ไรสนิม (rust mite) Aceria litchi (Acari: Eriophyidae) แมลงศัตรูลิ้นจี่ Litchi chinensis (Sapindaceae) รวมทั้งเพลี้ยไฟศัตรูพืชหลายชนิดซึ่งพบลงทำลายดอกก้นจ้ำดอกขาว Bidens pilosa (Compositae) ซึ่งเป็นวัชพืชต่างถิ่นที่รุกราน (invasive alien species – IAS) ชนิดหนึ่ง ที่เป็นพืชอาศัยทางเลือก (alternative hosts) ของเพลี้ยไฟศัตรูพืชกลุ่มดังกล่าว Reyes (1994) รายงานเขตแพร่กระจายของ P. lucasseni ตั้งแต่อินเดีย ไปจนถึงออสเตรเลีย และ ฮาวาย รวมทั้งในประเทศไทยด้วย
ข้อมูลทางนิเวศวิทยาเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
C. politus เป็นด้วงเต่าตัวห้ำซึ่งมีแหล่งแพร่กระจายในประเทศทางตะวันออก เช่น ภูฐาน เนปาน ไทย และอินโดนีเชีย เพลี้ยหอยเป็นหลัก ในประเทศไทยพบว่ากินเพลี้ยหอยกาแฟ Coccus viridis
การใช้ประโยชน์ด้านการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
ยังไม่มีการเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณด้วงเต่าตัวห้ำชนิดนี้ในประเทศไทย การใช้ประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืชสามารถทำได้โดยการอนุรักษ์ด้วงเต่าตัวห้ำนี้ไว้ในแปลงปลูก แมลงอาหารที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยหอยศัตรูกาแฟ
ข้อมูลอื่นๆ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ศมาพร แสงยศ. 2558. ความหลากหลายทางชนิด และ การใช้ประโยชน์เพลี้ยไฟตัวห้ำเพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี. รายงานวิจัย. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช). 117 หน้า.
Lewis, T. 1973. Thrips their biology, ecology and economic importance. Academic Press, London. 349 pp.